การออกแบบบรรจุภัณฑ์น้ำตาลปีป
ขั้นสืบค้นข้อมูล
น้ำตาลปีป หรือน้ำตาลปึก(Coconut Sugar): เป็นน้ำตาลที่ได้จากมะพร้าว มีกลิ่นหอมและมีสีน้ำตาลทองนิยมใช้ในการทำอาหาร ถูกบรรจุอยู่ในปีปและตักใส่ถุงแบ่งขาย ส่วนน้ำตาลปึกจะมีลักษณะเป็นก้อนรูปชาม และถ้วยตาไล
ผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Design): ผลิตภัณฑ์ที่จะต้องประกอบด้วยหลักการ 4R ได้แก่ การลดของเสีย(Reduce) การใช้ซ้ำ(Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่(Recycle) และการซ่อมบำรุง(Repair)
การออกแบบนิเวศเศรษฐกิจ(Eco Design): เป็นแนวทางหนึ่งในการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่รู้จักกัน คือ เทคโนโลยีสะอาด (Cleaner Technology:CT) หรือวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment:LCA)
รูปแบบบรรจุภัณฑ์น้ำตาลปีปในท้องตลาด
น้ำตาลปีป
แหล่งที่มาของข้อมูล
วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ.หน้า 29
วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ.หน้า 30
กรอบแนวคิดในการออกแบบบรรจุภัณฑ์น้ำตาลปีป คือการนำกระดาษมาใช้เป็นวัสดุหลักในการทำบรรจุภัณฑ์ และเลือกใช้โทนสีน้ำตาล-ขาว ในการออกแบบ
ขั้นสมมุติฐาน
จากการที่ได้ไปเก็บข้อมูลน้ำตาลปีปมาแล้ว จึงได้มีการกำหนดรูปลักษณ์โดยรวม และเกณฑ์ที่ใช้ในการออกแบบทำให้ได้แนวคิดในการออกแบบดังนี้
- วัสดุที่ใช้จะต้องเป็น Green Design หรือ Eco Design
- สื่อถึงความเป็นไทย หรือมีเอกลักษณ์ไทยเข้ามาเกี่ยวข้อง
- สามารถนำไปใช้งานได้จริง มีความเหมาะสมและสวยงาม
วัตถุประสงค์ในการออกแบบน้ำตาลปีป คือ เพื่อสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ของน้ำตาลปีปในรูปแบบใหม่ที่แตกต่างจากเดิมที่มีขายอยู่ในท้องตลาด และเป็นบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม สื่อถึงความเป็นไทย รวมถึงเป็นการสร้างแบรนด์ใหม่ให้ตัวของผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น
การวางแผนการดำเนินงาน
แก้ไขต้นแบบครั้งที่1
แก้ไขต้นแบบครั้งที่2
*ตัวบรรจุภัณฑ์ชิ้นนี้จะเน้นการให้เป็นของที่ระลึก เพราะตัวถูกออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้สามารถใช้เป็นการ์ดอวยพรได้
สรุปผล
ตัวผลิตภัณฑ์น้ำตาลปีปจะมีการนำมาแปรรูปโดยอาศัยความคิดสร้างสรรค์ และรูปทรงขององค์กระกอบศิลป์มาสร้างสรรค์ให้เกิดรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่รูปทรงเรขาคณิต และมีการปรับปรุงและพัฒนาจนเกิดเป็นรูปหัวใจ ในการแปรรูปของผลิตภัณฑ์นั้นเพื่อเป็นการสร้างรูปแบบใหม่ๆที่น่าสนใจให้กับตัวน้ำตาลปีป และเป็นการทำน้ำตาลปีปสามารถสะดวกในการใช้งานได้มากขึ้น รวมทั้งจัดเก็บได้ง่ายเนื่องจากมีขนาดที่กระทัดรัด และรูปแบบที่ตกแต่งอย่างสวยงามนั้นนอกจากการนำมาใช้ในการประกอบอาหารแล้วยังสามารถนำไปเป็นของขวัญและของที่ระลึกอีกด้วย
เมื่อได้ตัวผลิตภัณฑ์เรียบร้อยแล้วจึงต้องมีการกำหนดชื่อเพื่อที่จะนำไปสร้างแบรนด์ให้กับผลิตภัณฑ์ โดยนำความหมาย สี ของน้ำตาลคิดจนเกิดเป็น “ชูตาล” (Chutan) ซึ่งมาจาก Sugar ที่แปลว่าน้ำตาล และ ตาล หมายถึงสีน้ำตาลนั่นเอง จากนั้นได้สร้างรูปแบบของโลโก้โดยใช้รูปทรงเรขาคณิตคือวงรี เพื่อที่ให้นำไปใช้งานในการทำกราฟฟิกได้ง่าย และดูเรียบง่าย สวยงาม เลือกใช้โทนสีน้ำตาลเป็นหลักเพื่อสื่อถึงตัวผลิตภัณฑ์ ให้ความรู้สึกคสาสสิกและอบอุ่น รวมทั้งกำหนดตัวอักษรแบบไทยตามคอนเส็ป “ความหอมหวานจากธรรมชาติสู่ครัวไทย”
บรรจุภัณฑ์ของน้ำคาลปีปนั้นจะเหมาะสมกับโครงสร้างของตัวผลิตภัณฑ์ จึงได้กำหนดเป็นทรงสี่เหลี่ยมเพื่อง่ายต่อการขนส่งด้วย และสีเป็นโทนสีน้ำตาลเช่นกันจะได้สอดคล้องกับคอนเส็ปที่ตั้งไว้ รวมถึงตัวผลิตภัณฑ์และโลโก้แบรนด์ด้วย แต่ที่สำคัญคือบรรจุภัณฑ์นั้นต้องสามารถใช้งานได้จริง สื่อความเป็นไทยและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในการออกแบบนี้จะใช้กระดาษเป็นวัสดุหลักของบรรจุภัณฑ์ แต่เมื่อตัวน้ำตาลปีปต้องการให้เห็นรายละเอียดเพื่อความน่าสนใจแล้วจึงต้องใช้วัสดุที่มีความใสเข้ามาใช้ในส่วนด้านหน้า จึงจำเป็นต้องใช้พสาสติกเข้ามาประกอบด้วยเล็กน้อย และจากความหมายของ Green Design นั้นบรรจุภัณฑ์นั้นนอกจากเป็นวัสดุที่อนุรักษ์ธรรมชาติแล้ว จะต้องเป็นบรรจุภัณฑ์ที่น้อยชิ้น แต่ในที่นี้ตัวน้ำตาลปีปถูกออกแบบเป็นรูปแบบที่สามารถเคลื่อนที่ได้ จึงจำเป็นต้องเพิ่มชิ้นส่วนเพื่อทำฐานล็อกไม่ให้ผลิตภัณฑ์เคลื่อนที่เมื่อถูกแรงกระทบกระเทือบ หรือการยก เคลื่อนที่ต่างๆ
ตัวผลิตภัณฑ์และกล่องบรรจุภัณฑ์นั้นถูกออกแบบมาเพื่อความสะดวกต่อการใช้งานในแบบที่ต่างจากเดิมที่มีอยู่ในท้องตลาด และทำให้บรรจุภัณฑ์มีความหลากหลายขึ้น ซึ่งเหมาะสำหรับคนที่เน้นทำอาหารในปริมาณน้อย หรือไม่ได้ทำอาชีพเกี่ยวกับอาหารเป็นหลัก อีกทั้งทั้งยังมีข้อพิเศษคือสามารถใช้เป็นของที่ระลึกในโอกาสต่างๆได้ด้วย และทุกอย่างจะถูกออกแบบมาภายใต้แบรนด์ของ Chutan “ความหอมหวานจากธรรมชาติสู่ครัวไทย”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น